วัยรุ่นกับภาษาไทยยุคใหม่ อักขระที่ถูกลืม

โลกของเราในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากมายทำให้สะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารมากยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน โดยเฉพาะการใช้ภาษาที่ผิดไปจากเดิม โดยเหตุผลที่ว่ามันเป็นยุคสมัยเมื่อพูดแล้วมันเก๋ดี แต่หารู้หรือไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนไปจากเดิมและจะเกิดเป็นค่านิยมสืบทอดเป็นวัฒนธรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าภาษาที่เราใช้นั้นมันผิดหรือถูก เยาวชนยุคใหม่นี้กลับไม่เห็นคุณค่าในภาษาไทยเลย
ประเทศไทยของเรามีภาษาที่เราพูดเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของประเทศไทยให้กับประชาคมโลกได้เห็น แต่ถ้าหากว่าการใช้ภาษาไทยได้กายเป็นของเล่นให้กับเยาวชนกับวัยรุ่นโดยเหตุผลที่ว่า มันเก๋ดี ต้องบอกได้เลยว่า เอาสมองส่วนไหนมาคิด การใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ ของวัยรุ่นนั้นมีแต่จะทำให้ภาษาวิบัติลงเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้จากการเล่น MSN เช่นคำว่า เดียว-เด๋ว เปล่า-ป่าว ใช่ไหม-ชิมิ เป็นต้น ถามว่าเล่นผิดไหม ก็ตอบได้ว่าไม่ผิด แต่ถ้าหากว่าเล่นแล้วมีวิจารณญาณในการเล่นแล้วไม่นำมาปฏิบัติไม่นำมาพูด
วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะ เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ พูดในที่สาธารณะที่มิใช่เฉพาะกลุ่มของตน หรือการพูดติดต่อที่เป็นทางการ ควรใช้ถ้อยคำที่ไพเราะและใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีในอนาคต โดยมีผลการสำรวจจาก แอแบคโพลล์ในเรื่องของการใช้ภาษาไทย

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว  เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัวรองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น ตามลำดับ  นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
อ้างอิงมาจาก  Abac โพส





แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้าหากว่าทุกหน่วยงานได้ลงมือมาช่วยกันสืบสานภาษไทยให้ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ภาษาไทยก็จะอยู่คู่ประเทศไทยอย่างนี้ตลอดไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองเป็นจุดเริ่มแรกที่จะบอกกล่าวอบรมสั่งสอนบุตรของตน ให้เห็นคุณค่าถึงภาษาไทยมากยิ่งขึ้น พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะใช้ภาษาที่เก๋ไก๋แต่ทำให้ภาษาพ่อภาษาแม่ของเราวิบัติไป จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยทุกคนช่วยกันรณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และช่วยกันรักษาอนุรักษ์ภาษาที่เป็นสิ่งที่เราใช้แสดงความเป็นไทย ความเป็นเอกราช ของประเทศไทยเราเอง ช่วยกันสืบต่อให้คนรุ่นหลังของเราได้ใช้ภาษาไทยต่อไป




โดย วิษณุ   ธุระงาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความสุข ความสงบ ณ วัดภูเก็ต อ.ปัว จ.น่าน

วัดศรีมงคล (ก๋ง) อ.ท่าวังผา จ.น่าน